การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex)
"สนุกกับการเรียนรู้ มุมมองของโลกยุคปัจจุบัน"
บทความโดย ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง
การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex)
การใช้กล้องถ่ายภาพ DSLR สำหรับถ่ายวิดีโอกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันกับงานด้านสื่อสารมวลชนในทุกๆ แขนง อาทิเช่น งานโฆษณา รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือแม้แต่งานข่าว ซึ่งด้วยความสามารถของกล้อง DSLR ที่ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานได้เสมือนจริง มีน้ำหนักเบา มีฟังก์ชั่นที่ไม่ซับซ้อนใช้งานง่าย จึงทำให้ได้รับความนิยมในการใช้งานสำหรับถ่ายวิดีโอ โดยทั่วไปการใช้กล้อง DSLR ในการถ่ายวิดีโอมีจุดเด่น จุดด้อย ดังนี้
จุดเด่น
1. การควบคุมระยะชัดได้อย่างดีเยี่ยม กล้องวิดีโอโดยทั่วไปเมื่อเราถ่ายภาพสิ่งที่เราจะได้คือทุกๆส่วนในภาพที่เราโฟกัสมีความชัดเหมือนกันหมด แต่สำหรับกล้อง DSLR สามารถถ่ายภาพที่มีความคมชัดในตัวแบบหรือวัตถุที่เราต้องการส่วนฉากหลังก็จะเบลอ มีระยะชัดของภาพชัดลึก - ชัดตื้น (Depth of field) ตามที่เราต้องการ
2. เลนส์ กล้อง DSLR สามารถเปลี่ยนเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสหรือความคมชัดต่างกันได้ ราคาของเลนส์ก็ถูกกว่าเลนส์กล้องวิดีโอ อีกทั้งกล้องแต่ละรุ่นสามารถใช้เลนส์ของค่ายอื่นได้เพียงแค่มีตัวแปลงเลนส์ (Adapter) และเราสามารถเปลี่ยนเลนส์ให้เข้ากับสถานการณ์หรือผลงานที่เราต้องการสร้างสรรค์ เช่นเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล (Telephoto Lens) เลนส์ถ่ายภาพกว้าง (Wide Angle Lens) หรือเลนส์ฟิกซ์ (Fixed Lens)
3. การถ่ายในสภาพที่แสงน้อยได้ดี ในกรณีเราสร้างสรรค์ผลงานในสถานการณ์แสงน้อยกล้อง DSLR สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดีกว่ากล้องวิดีโอทั่วไป เราเลือกใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงที่กว้าง อีกทั้งช่วยประหยัดงบประมาณที่ต้องจ้างบุคลากรในการจัดแสง ซึ่งกล้องวิดีโอทั่วไปไม่สามารถทำงานได้
4. น้ำหนักเบา พกพาในการทำงานได้สะดวกหยิบจับได้ง่ายสามารถสร้างสรรค์ผลงานคนเดียวได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย
จุดด้อย
1. การบันทึกเสียง การทำงานกับเสียงของกล้อง DSLR การบันทึกเสียงจากตัวกล้องจะได้คุณภาพที่ไม่ดีเนื่องจากไมโครโฟนในตัวกล้องจะรับเสียงรอบด้านและอาจมีเสียงอื่นๆ ที่เราไม่ต้องการเข้ามาในกล้อง ดังนั้นเราอาจแก้ปัญหาโดยการบันทึกเสียงแยก หรือติดไมโคโฟนเพิ่มเติม
2. น้ำหนักเบา เป็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของกล้อง DSLR การที่กล้องมีน้ำหนักเบาในการแพนกล้อง การซูมกล้อง ทำให้ภาพวิดีโอที่บันทึกเกิดการสั่นไหว และการจับกล้องไม่ถนัดอาจทำให้ได้ภาพที่ไม่สมบูรณ์หรือภาพกระตุก ช่างภาพอาจแก้ปัญหาโดยการใช้ตัวช่วยคือขาตั้งกล้อง
3. เมมโมรี่การ์ด (Memory Card) ในการบันทึกภาพวิดีโอที่ถ่ายลงในเมมโมรี่การ์ดโดยทุกๆ 3 นาที ข้อมูลจะกินพื้นที่ 1GB อาจมากหรือน้อยกว่าตามขนาดของไฟล์งานที่เราตั้งก่อนบันทึก บางครั้งกำลังถ่ายอยู่กล้องอาจหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเนื่องจากบันทึกไม่ทันหรือการ์ดเต็มเร็ว
4. การโฟกัส ในการบันทึกภาพโดยใช้กล้อง DSLR ช่างภาพต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการโฟกัส ซึ่งถ้าตั้งระบบโฟกัสแบบอัตโนมัติกล้องอาจไปหาความชัดในสิ่งที่เราไม่ต้องการหรือโฟกัสเคลื่อน ซึ่งช่างภาพควรฝึกการโฟกัสแบบต้องหมุนเลนส์ (Manual Focus)
ขั้นตอนการถ่ายวิดีโอโดยใช้กล้อง DSLR
1. การตั้งค่ากล้อง
ก่อนสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอโดยใช้กล้อง DSLR เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งค่าของกล้อง ซึ่งมีสามส่วนที่เราจะต้องทำความเข้าใจ ประกอบด้วย ความเร็วซัตเตอร์ รูรับแรง และ iso ซึ่งการทำงานที่สมบูรณ์ที่สุดทั้งสามอย่างที่กล่าวมาต้องมีความสัมพันธ์กัน
1.1 การตั้งระบบการถ่าย
ขั้นตอนในการทำงานดังนี้ 1.เปิดกล้อง 2.ปรับระบบกล้องเป็นการถ่ายวิดีโอ 3.เข้าไปที่เมนู เลือกตั้งค่าระบบถ่ายวิดีโอเป็นระบบ PAL ตามภาพ เนื่องจากโทรทัศน์ในประเทศไทยใช้ระบบ PAL
1.2 การตั้งค่าบันทึกภาพวิดีโอ
เข้าไปที่เมนู เลือกขนาดบรรทุกภาพเคลื่อนไหว โดยการเลือกตั้งค่าของกล้องแต่ละตัวจะแตกต่างกันออกไป สำหรับไฟล์บันทึกภาพโดยทั่วไปที่เราใช้คือขนาด Full HD (1920 x 1080 pixels) และเลือกค่าเฟรมเรท ไปที่ 25 เฟรมเรท (ในกรณีที่เราถ่ายวิดีโอเพื่อนำไปใช้สำหรับการ Slow Motion สโลโมชั่น ก็เลือกใช้ 50 เฟรมเรท หรือมากกว่าตามคุณสมบัติของกล้องที่สามารถทำได้เพื่อผลงานภาพวิดีโอไปสโลโมชั่นภาพวิดีโอจะได้ไม่กระตุก)
สำหรับ Frame Per Second หรือเราคุ้นเคยกับคำว่า เฟรมเรท ซึ่งเฟรมเรทนี้ก็คือจำนวนเฟรม (จำนวนภาพนิ่ง) โดยมีหน่วยเป็น per second (กี่ภาพต่อวินาที) เช่น 30 FPS คือ ใน 1 วินาทีจะมีภาพนิ่งต่อเนื่องกัน 30 ภาพ
อัตราเฟรมเรตของเทคโนโลยีแต่ละประเภท
1.3 การตั้งค่า Speed Shutter
- ภาพยนต์ มีอัตราเฟรมเรตอยู่ที่ 24 เฟรม/วินาที
- โทรทัศน์ระบบ PAL มีอัตราเฟรมเรตอยู่ที่ 25 เฟรม/วินาที (ประเทศไทย และประเทศแถบยุโรบใช้ระบบนี้)
- โทรทัศน์ระบบ NTSC มีอัตราเฟรมเรตอยู่ที่ 30 เฟรม/วินาที (อเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา)
1.3 การตั้งค่า Speed Shutter
การตั้งค่า Speed Shutter สำหรับการถ่ายวิดีโอ ให้เราเลือกจากการตั้งค่าเฟรมเรท จากการตั้งค่าบันทึกภาพวิดีโอ ในกรณีที่เราตั้งค่าเฟรมเรทที่ 25 เฟรมเรท ให้เราใช้ Speed Shutter ที่ 1/50 ถ้าเราตั้งค่าเฟรมเรทที่ 50 เฟรมเรท ให้เราใช้ Speed Shutter ที่ 1/100 (ตั้งค่า Speed Shutter เป็น 2 เท่าของเฟรมเรทที่เราตั้ง)
1.4 การตั้งค่าความไวแสง ISO
ความไวแสง ISO ทำหน้าที่ควบคุมระดับความไวต่อแสงที่มากระทบของเซนเซอร์ภาพ การตั้งค่า ISO สูงๆ ทำให้เซนเซอร์กล้องของคุณไวต่อแสงมากขึ้น คุณจึงถ่ายภาพในที่มืดได้ ทั้งนี้ ISO ยังมีผลต่อภาพถ่ายของคุณในด้านอื่นๆ อีก (Ryosuke Takahashi) ในการเลือกใช้ค่า ISO ไม่ควรใช้ค่า ISO ที่สูงเกินไปเพราะจะทำให้ผลงานวิดีโอที่เราถ่ายไม่คมชัดภาพแตก
1.5 การตั้งค่าไวท์บาลานซ์
การตั้งค่าไวท์บาลานซ์ เป็นการตั้งค่าที่เราจะเลือกโทนสีของภาพ ซึ่งในกล้องถ่ายภาพก็จะมีค่าไวบาลานซ์แบบต่างๆ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกล้อง ในการเลือกใช้งานอยู่ที่เราต้องการถ่ายวิดีโอในสภาพแสงแบบไหน ซึ่งแนะนำให้ใช้แบบการตั้งค่าไวบาลานซ์ด้วยตัวเอง K สภาพแสงต่างๆ ค่าอุณหภูมิสี
ที่มา http://pigusso.com/blog/ตั้งค่าไวท์บาลานท์-2
2. เลนส์
การเลือกใช้เลนส์ เลนส์มีความสำคัญในการเปิดรับแสงถ้าเลนส์ที่มีรูรับแสงที่กว้างจะทำให้เราถ่ายภาพวิดีโอในสภาพที่แสงน้อยได้ดี และเลนส์ส่งผลต่อความคมชัดของภาพที่เราถ่าย ข้อควรระวังในการใช้เลนส์ในกรณีใช้เลนส์ในการถ่ายภาพมุมกว้าง (Wide Angle Lens) วัตถุที่เราถ่ายจะทำให้ภาพขยายด้านข้างซึ่งอย่าใช้กว้างที่ต่ำกว่า 24 มม.3. การถ่ายวิดีโอ
เมื่อตั้งค่ากล้องทุกอย่างเรียบร้อยแล้วเริ่มถ่ายวิดีโอจากกล้อง DSLR3.1 จัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพวิดีโอ เลือกวัตถุที่เราต้องการสื่อความหมาย
3.2 เลือกโฟกัส เราปรับระบบโฟกัสเป็นหมุนเลนส์ (Manual Focus)
ปรับโฟกัสใช้ชัดโดยการดกปุ๋มซูมเข้าไปในวัตถุที่เราต้องการโฟกัส หลังจากนั้นหมุนเลนส์โฟกัสให้ภาพชัด ถ้าเป็นบุคคลให้โฟกัสที่ดวงตา หลังจากนั้นให้ล็อคโฟกัสและขยายภาพในจอ LCD มาเป็นปกติ และกดบันทึกภาพ
ข้อควรระวัง ในการบันทึกภาพเราควรเผื่อช่วงหัวช่วงท้ายไว้ประมาณ 3-5 วินาที เพราะการทำงานของกล้องกับที่เราสั่งการทำงานไม่ตรงกัน100% เช่นกล้องที่จะแพนกล้องหรือให้ตัวแบบเคลื่อนไหวให้เรากดบันทึกภาพไว้ก่อนสัก 5 วินาทีค่อยเริ่มแพน ช่วงท้ายก็เหมือนกันบันทึกวิดีโอเรียบร้อยแล้วอย่าพึ่งหยุดให้ปล่อยไว้สักพัก
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=7nntQLDJZUo
รายการอ้างอิง
Richard Harrington. Creating DSLR Video การถ่ายวิดีโออย่างมือโปร ด้วยกล้อง DSLR
แปลโดย นารีรัตน์ พัทยากร. กรุงเทพ. ทรูไลฟ์. 2556)
Pigusso ตั้งค่าไวท์บาลานท์ผิด ชีวิตหม่นหมอง…(ตอนที่ 2). เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/3AXabD ไวท์บาลานท์-2 วันที่สืบค้น 11 ตุลาคม 2560
Ryosuke Takahashi. ความไวแสง ISO คืออะไร?. เข้าถึงได้จาก https://snapshot.canon- asia.com/article/th/lesson-5-what-is-iso-speed วันที่สืบค้น 18 ตุลาคม 2560
Is Poker Casino rigged? - DrmCD
ตอบลบIs Poker Casino rigged? - DrmCD. 의왕 출장샵 A new report suggests the 서울특별 출장안마 game is rigged. It's not like poker is 경기도 출장샵 rigged, but the casino is rigged, and 보령 출장마사지 you 창원 출장안마