เบาะแสบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเสื้อผ้า “As a costume designer, you’re almost like a reverse detective”

เบาะแสบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเสื้อผ้า
“As a costume designer, you’re almost like a reverse detective”
โดย จุฑารัตน์ การะเกตุ



     “As a costume designer, you’re almost like a reverse detective,” เป็นคำกล่าวที่น่าสนใจของ “Alexandra Byrne” นักออกแบบเครื่องแต่งกายภาพยนตร์มากความสามารถ ได้นำเสนอความคิดว่าในฐานะนักออกแบบเครื่องแต่งกาย เหมือนเป็นนักสืบที่คอยสืบค้นตัวตนที่แท้จริงของตัวละคร ทั้งยังต้องสร้างตัวละครให้มีน่าเชื่อถือ มีความเท่าเทียม และสามารถนำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งคุณอาจจะได้เห็นเบาะแสบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเสื้อผ้า

     ภาพยนตร์เรื่องฆาตกรรมบนรถด่วน โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส กล่าวถึงเหตุการณ์อยู่ในช่วง '30s whodunnit set (setting of 1934) โดยต้นเรื่องจะเริ่มตั้งแต่ 1925-1933 (นวนิยายตีพิมพ์ประมาณปี 1933) ผู้ชมจะได้เห็นเครื่องแต่งกายและความงามที่เรียงร้อยระหว่างยุค 20S และ 30S โดยเรื่องราวได้นำเสนอการอยู่รวมกันของคนที่หลากหลายในขบวนรถไฟ ทั้งฐานะ เชื้อชาติ อายุ ความแตกต่างทั้งหมดนี้จะถูกนำถ่ายทอดผ่านการออกแบบเครื่องแต่งกายในรถไฟสายอิสตันบลูสู่ปารีสซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสง่างามด้วยงานศิลปะแบบอาร์ตเดโค (Art Deco) ซึ่งตรงกับคำกล่าวของบุชที่ได้กล่าวกับปัวโรต์ว่า “All around us are people of all classes, of all nationalities, of all ages. For three days, these people, these strangers to one another, are brought together." เครื่องแต่งกายในภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละตัวละครด้วยโทนสี “Earth tones” ทั้งเนื้อผ้า ลวดลาย รวมถึงผิวสัมผัส เนื่องด้วยสีโทนน้ำตาลสามารถให้ความรู้สึกถึงการผจญภัย ความมีชีวิตชีวา ความแข็งแรง ความรู้สึกไม่ปกติ ทั้งยังช่วยนำเสนอภาพย้อนยุค “Period colors” แต่ยังมีความทันสมัย นอกจากนั้นแล้วโทนสีดังกล่าวตัดกับหิมะสีขาวได้อย่างสวยงามและโดดเด่น

     ผู้ออกแบบเริ่มสร้างสรรค์การออกแบบโดยหยิบรูปแบบและเนื้อผ้ามาจากยุค 30S ด้วยการลงละเอียด การหาข้อมูลจาก เข้าชมงานนิทรรศการ Costume houses งานแสดงสินค้าย้อนยุคและตัวแทนจำหน่ายต่างๆ ด้วยความต้องการใส่รายละเอียดของเสื้อผ้า โดยคำนึงถึงการใช้งาน ความสึกหรอและความซีดจางจากการสัมผัสกับแสงแดด และด้วยคุณภาพการถ่ายระดับสูงจึงส่งผลให้เนื้อผ้า สีสัน ลวดลาย รวมถึงลายละเอียดต่างๆถูกนำเสนออย่างสมบูรณ์และปราณีต

     สิ่งที่สำคัญที่สุดการออกแบบเครื่องแต่งกายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครและการเหตุการณ์ฆาตกรรม ตัวละครล้วนมีภูมิหลัง เรื่องราวและความลับซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เผยให้เห็นอย่างช้าๆ ผ่านบทสนทนาและร่องรอยของเครื่องแต่งกาย ดังที่ Alexandra Byrne กล่าวถึงหลักการออกแบบเครื่องแต่งกายว่าเขาจะไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าเพื่อแสดงถึงสิ่งที่พวกเขาเป็นจริงเท่านั้น แต่เสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายในเรื่องนี้เป็นการแสร้งทำเป็นคนอื่น เสื้อผ้าได้กลายเป็นตัวตนที่พวกเขาต้องการจะเป็น

     มิสซิสฮับบาร์ด (Caroline Hubbard) แม่หม้ายชาวอเมริกันที่ร่ำรวย นำเสนอด้วยเครื่องแต่งกายที่เปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างมากมายและเครื่องประดับอัญมณี เธอเป็นนักเดินทางที่กระเป๋าเต็มไปด้วยเสื้อผ้าหลากหลาย เช่น ชุดราตรียาวสำหรับรับประทานอาหารช่วงกลางคืนด้วยชุดสีชมพูไวน์ (The plum evening gown) ขนสัตว์เทียมสีน้ำตาลเข้ม ผ้าพันคอไหม ผ้าพันคอของมิสโซนิที่ทำด้วยผ้าถัก เพราะเบื้องหลังตัวตนของเธอ คือ นักแสดงบรอดเวย์ เธอจึงดูเหมือนต้องการแสดงตัวตนหรืออยากจะโดดเด่นผ่านเสื้อผ้าของเธออย่างเปิดเผย



Michelle Pfeiffer as Caroline Hubbard
ชุดราตรียาวสำหรับรับประทานอาหารช่วงกลางคืนด้วยชุดสีชมพูไวน์ที่แสนโดดเด่น

     การสวมเสื้อและปกคอเสื้อปักลาย หรือผ้าพันคอแบบปักลายแบบซีเรียพร้อมสร้อยคอ เพื่อสื่อการเป็นนักท่องเที่ยว นักออกแบบเครื่องแต่งกายใช้การเปรียบเทียบตัวละครโดยใช้บทบรรยายที่อกาธา คริสตี้ได้เขียนถึงตัวละครนี้ไว้ว่าเธอเป็น ‘A woman who walks too loud’ เทียบคำบรรยายด้วยการเดินเสียงดังแต่เปลี่ยนเสียงเป็นการแสดงความโดดเด่น เธอเป็นตัวแทนของการเดินทาง เธอถูกนำเสนอให้เป็นผู้หญิงประเภทที่อยากบอกให้คนอื่นรับรู้ว่าเธอจะไปที่ไหน ตอนต้นเธอสวมชุดแบบซีเรีย อันหมายถึงสถานที่จุดเริ่มต้นอันเป็นต้นทางของรถไฟสายยุโรปอันหรูหราที่แล่นตะบึงสู่ทิศตะวันตก ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกีเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายคือเทือกเขาที่หนาวเหน็บด้วยชุดสกี (ski suit) ในรถไฟกลางฤดูหนาว

     เจ้าหญิงดราโกมิรอฟฟ์ (Princess Lady's Dragomiroff) เจ้าหญิงรัสเซียที่หลบหนีการปฏิวัติ ถูกเนรเทศและอาศัยอยู่ในปารีส ด้วยตระกูลอันสูงส่งและความร่ำรวย จากการศึกษา การแต่งกายหญิงสาวในระดับเจ้าหญิงของรัสเซียจะเปลี่ยนเสื้อผ้าได้สี่หรือห้าครั้งต่อวัน ส่งผลให้เจ้าหญิงดราโกมิรอฟฟ์เป็นตัวละครที่ถูกเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายมากที่สุด เช่น ชุดเดรสแบบปักด้วยดิ้นทองที่หรูหรา (sequined Deco gown) ชุดเดรสกระโปรงผ้ากำมะหยี่สีม่วงแดง (velvet) เหมาะสำหรับการซ่อนหลักฐานและเสริมด้วยเครื่องประดับที่ฟุ่มเฟือยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น สร้อยคอประดับด้วยเพชรพลอยที่มีราคาแพงสวมหลายชั้น ต่างหูโคมระย้าและแหวนขนาดใหญ่ (An eye-popping statement ring) บนนิ้วแต่ละนิ้ว ซึ่งทำให้เธอมีความเป็นตัวของตัวเองและรู้วิธีการนำเสนอสไตล์การแต่งกายนั่นอย่างสวยงาม





Judi Dench as Princess Dragomiroff
เจ้าหญิงดราโกมิรอฟฟ์

    นอกจากนี้ เครื่องแต่งกายยังสื่อให้เห็นถึงการเป็นเจ้าหญิงชาวรัสเซียที่พำนักอยู่ในกรุงปารีส ด้วยการผสมผสานเครื่องประดับ อย่างเช่น เครื่องประดับและแหวนจากพระเจ้าซาร์ของรัสเซีย ส่วนเสื้อผ้าของเธอได้รับอิทธิพลจากงานของ “Jeanne Lanvin” ในกรุงปารีส


ภาพเครื่องแต่งกายชนชั้นสูงในปารีส ของห้องเสื้อ Jeanne Lanvin ในช่วง 30S


    ฮิลเดอกาด สมิดท์ (Hildegarde Schmidt) หญิงสาวคนสนิทของเจ้าหญิงดราโกมิรอฟฟ์ มีลักษณะหญิงสาวที่สงบเสงี่ยมและเรียบร้อย เธอมักจะสวมเสื้อและชุดเดรสมีปกและสวม ผ้าพันคอลายดอกไม้ เป็นตัวละครที่ไม่เปิดเผยมากนักด้วยโทนสีเรียบด้วยสีขาวและดำและ แสดงออกด้วยการแสดงที่ดูจิตใจดีและไม่ทันคน แต่แท้ที่จริงเธอเป็นแม่ครัวครอบครัวอาร์มสตรอง


     เมรี่ เดเบนแฮม (Mary Debenham) หญิงโสดอายุน้อยที่ต้องการทำงานเพื่อสนับสนุนตัวเอง (หาเลี้ยงตัวเอง) ด้วยการเป็นพี่เลี้ยงเด็ก (สอนวิชาภูมิศาสตร์) ปัวโรต์รู้จักตัวจริงของเธอด้วยสังเกตตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ เมรี่มีนิสัยมีเหตุผลและมีความคิดที่ทันสมัยเห็นได้จากการที่ยอมรับความแตกต่างของสีผิวที่นำยุคนำสมัย ดังนั้นการแต่งกายของเมรี่เน้นชุดทำงานที่มีลักษณะเนื้อผ้าเหมือนชุดสูทของผู้ชาย ตลอดการเดินทางเธอมีเสื้อผ้าเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยด้วยฐานะปานกลางของเธอ แต่เมื่อรถไฟติดอยู่ในหิมะและระบบทำความร้อนเสีย เธอเลือกสรรเครื่องแต่งกายมาผสมกัน (Mix and Match) ด้วยตัวของเธอเองด้วยผ้าทวีต (tweedy) และผ้าเครป (crepe) สวมใส่เสื้อผ้าหลายชั้นขึ้นเพื่อให้ความอบอุ่น และจากมุมมองของนักออกแบบเครื่องแต่งกายมองว่าเธอเป็นผู้หญิงที่มีพลังบวก เมื่อเธอเดินเข้ามาในห้องทำให้ห้องสดใสและมีชีวิตชีวาจึงนำเสนอชุดเดรสสี “English rose” และใช้โทนสีแบบฤดูใบไม้ร่วง (Autumnal colors) ที่ขับเน้นความคิดด้านความนำยุคนำสมัยของเธอและตัดกับสีของฤดูหนาวได้อย่างสวยงาม


     เคาท์เตส เอเลน่า แอนดรายี (Countess Elena Andrenyi) ผู้หญิงสาวที่เคยเป็นนักเต้นรำ เธอสง่างามและร่ำรวย ส่วนใหญ่เธอใช้ชีวิตในเวลากลางคืนและใช้เวลาที่เหลือไปกับการนอนในช่วงกลางวัน เธอพยายามหลีกเลี่ยงการมีชีวิตอยู่ด้วยการซ่อนตัวอยู่ในห้อง นักออกแบบเครื่องแต่งกายนำเสนอภาพลักษณ์ของเธอเพื่อให้เกิดความรู้สึกของผีเสื้อที่เสียหาย (a damaged butterfly) เพื่อแสดงถึงความทุกข์ทรมานจากโศกนาฏกรรมร้ายแรงและหลงอยู่ในห้วงความบอบช้ำ เธอตื่นจากเตียงและเธอก็ลุกขึ้นมาทำอะไรเพียงเล็กน้อย ตัวละครเน้นสวมชุดนอน (a pajama suit) พร้อมผ้าคลุม (a gauze robe) ด้วยเนื้อผ้าเธอจึงดูบอบบาง ละเอียดอ่อนเหมือนผีเสื้อกลางคืนแสนสวย ณ ขณะเดินทางขึ้นรถไฟ การเปิดตัวของเธอทำให้คนอื่นไม่อาจทราบว่าเธอแต่งตัวชุดด้านในอย่างไรด้วยการสวมหมวกคลุมตาข่ายบิดบังใบหน้าและแสงแดด และเสื้อคลุมแต่ด้านในกลับกลับสวมชุดนอน

     จากการค้นหาข้อมูลของเครื่องแต่งกายได้ค้นพบชุดเนื้อเมทัลลิคของแท้ในปี 30S ซึ่งเป็นทอหรือถักด้วยริบบิ้นบางๆ เส้นใยโลหะที่ไม่รอยต่อและไม่เสียหายจึงเป็นการนำเสื้อผ้าของจริงในยุคนั้นมาใช้ในการถ่ายทำอีกด้วย


เครื่องแต่งกายของเคาท์เตส เอเลน่า แอนดรายี


     พิลาร์ เอสตราวาโด (Pilar Estravados) พิลาร์เป็นมิชชันนารีชาวสวีเดนที่มีอดีตที่มืดมน ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายมีความต้องการให้ตัวละครแตกต่างออกไปด้วยการสวมกางเกง แต่กางเกงในยุค 30S เป็นแฟชั่นที่ไม่สามารถทำได้ แต่จากการค้นหาข้อมูลพบว่าเครื่องแต่งกายในแคนาดามีลักษณะกางเกงประโปรง “cotton drill culottes” ที่เรียกว่า “คูลอต” ซึ่งเป็นกางเกงผ้าฝ้ายมีที่ความยาวระดับเข่าและมีน้ำหนักหนักมากลักษณะคล้ายกระโปรง จึงกลายเป็นส่วนผสมเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช่กางเกงและไม่ใช่กระโปรง ด้วยเนื้อผ้าและการสวมใส่หลายชั้นช่วยให้เธอดูหนักอึ้งเหมือนกับความทุกข์ที่เธอแบกรับไว้ เธอการสวมสร้อยไม้กางเขนเพื่อสื่อถึงความเชื่อทางศาสนา และโทนสีของเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะหม่นทึบ ช่วยแสดงถึงความบอกช้ำทางจิตใจของตัวละคร เพราะตัวตนที่แท้จริงของเธอเป็นนางพยาบาล เธอรู้สึกผิดที่ทำให้เดซี่ อาร์มสตรอง เด็กสาวในความดูแลถูกลักพาตัวและเสียชีวิตอย่างน่าเศร้าสลด

     นอกจากนี้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสำหรับบุรุษในภาพยนตร์เรื่องนี้มีความโดดเด่นไม่แตกต่างจากสตรี โดยเฉพาะในยุค 30S เครื่องแต่งกายชายล้วนนำเสนอด้านของความสง่างามและมีความเป็นทางการ (leisure wear) เป็นอย่างมาก ผู้ออกแบบศึกษาความแตกต่างในการตัดเย็บและตกแต่งสไตล์ระหว่างอเมริกาอังกฤษและยุโรป ซึ่งสามารถนำมาแสดงถึงการที่ตัวละครแต่ละตัวได้แต่งกาย เพื่อแสดงว่าเขาเป็นใคร พวกเขามีรูปร่างแบบไหนหรือแสดงตัวตนที่พวกเขาแกล้งทำ


การออกแบบเครื่องแต่งกายของแอร์กูล ปัวโรต์


     แอร์กูล ปัวโรต์ (Hercule Poirot) การออกแบบคำนึงถึงภูมิหลังของตัวละคร เช่น พื้นฐานทางทหารของปัวโรต์ การเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเบลเยี่ยมที่เกษียณตัว และพักอาศัยอยู่ใน สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ในยุคนั้น ทำให้ปัวโรต์มีความเป็นสุภาพบุรุษ มีความแม่นยำ ละเอียดรอบคอบ การลงรายละเอียดของตัวละครด้วยเครื่องแต่งผมแต่งหนวด (a grooming kit) และหน้ากากเวลานอนหลับเพื่อดูแลหนวดให้อยู่ทรง (a sleeping mask) และด้วยความเป็นสารวัตรตำรวจ เขามีชีวิตที่ดีแต่เป็นชนชั้นกลาง จึงไม่ใช่ชนชั้นสูง ดังนั้นลักษณะเครื่องแต่งกายของปัวโรต์ก็แสดงถึงการเป็นชนชั้นกลาง นอกจากนี้แล้วลักษณะสำคัญและเด่นของปัวโรต์ คือ หนวด ถูกออกแบบให้เป็นหนวดคู่ เพื่อให้ตรงคำอธิบายของอกาธา คริสตี้ ผู้เขียนนวนิยายว่า หนวดของปัวโรต์คือ "หนึ่งในสิ่งที่งดงามที่สุดในอังกฤษ” และขับเน้นลักษณะนิสัยรักความสมบูรณ์แบบสมมาตรของตัวละคร


     ซามูเอล เรตแชตต์ (Edward Ratchett) ผู้ร้ายชาวอเมริกันผู้มั่งคั่ง อาชีพของเขา คือ ตัวแทนจำหน่ายศิลปะปลอมทำให้มีฐานะร่ำรวย ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายได้สร้างสรรค์เสื้อผ้าของเขาให้มีความเป็นชาวอเมริกัน นำเสนอนิสัยความโลภและแสดงถึงการทำอะไรตามใจด้วยการแต่งตัวที่เกินจากชนชั้นของตนเอง (โดยปกติในสังคมยุคนั้นจะไม่แต่งตัวเกินฐานะหรือชนชั้นของตน) และจากคำพูดของปัวโรต์ว่าลักษณะของแรตเชตต์เหมือนเป็นสัตว์ป่า เขาอาจจะสั่งทำเสื้อโค้ทหนัง เพราะความต้องการใช้เงินและอวดตัว เช่น ชุดหนังเงามันสีน้ำตาล (flashy leather) เสื้อที่ทำจากผ้าไหม ส่วนชุดอื่นๆ มาจากลอกการแต่งกายจากชายชาวยุโรปตะวันออก ที่มีความสง่างาม และจากการค้นข้อมูลการแต่งกายยุโรปในสมัยนั้นผู้ชายนิยมคิ้วบาง



การใช้ลักษณะเครื่องแต่งกาย
แบบ black-tie Original dress
ชุดตามสมัยนิยม



     ดร.อาบุชนอต (Dr. Arbuthnot) การแต่งกายมีความเป็นสุภาพบุรุษ (gentlemen) ชาวอังกฤษที่แท้จริง เครื่องแต่งกายตามแบบฉบับ เช่น เสื้อสูทตัวนอก เสื้อกั๊กและกางเกงทรงตรง เสริมความโดดเด่นด้วยเสื้อกั๊กสีดำ และผ้าเช็ดหน้า


     แมคควีน (Hector MacQueen) ตัวละครที่มีอาชีพเป็นผู้ช่วยดูแลเรื่องเอกสารและบัญชีให้แก่เรตแชตต์ การออกแบบเน้นความแตกต่างระหว่างเจ้านาย (เรตแชตต์) กับลูกน้อง เขาถูกนำเสนอให้ไม่มีสไตล์ ไม่โดดเด่น ไม่มีเครื่องประดับหรือการแต่งกายที่เกินฐานะด้วยชุดสูทและไทด์สีเข้ม ตัวละครนี้ถูกออกแบบให้แสดงถึงความอึดอัด ผู้ออกแบบนำคำว่า “ร้อนและเหงื่อ” (It’s all a bit hot and sweaty) เป็นต้นแบบ โดยใช้การผูกไทด์ที่รัดคอแน่น เป็นการผูกไทด์ขนาดเล็กและติดคอตามความนิยม ที่เรียกว่า “Windsor knots”


     ฮาร์ดแมน (Gerhard Hardman) ฮาร์ดแมนปลอมตัวเป็นศาสตราจารย์ชาวออสเตรีย จึงมีการสร้างลักษณะเครื่องแต่งกายให้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเครื่องแต่งกายตัวละครที่เป็นชาวอังกฤษและอเมริกา ด้วยชุดสูทที่มีเข็มขัดคาดทับไว้ด้านนอก และโทนสีใช้เทาและเขียวตามรูปแบบการแต่งกายของชาวออสเตรีย (ภาพด้านล่าง)


     ซึ่งความแตกต่างของชุดสูทของอังกฤษและอเมริกา จะมีความแตกต่างกันในด้านของการตัดเย็บและเนื้อผ้า อังกฤษจะเป็นผ้าทวีตหรือผ้าขนสัตว์ที่มีลักษณะหนาและหนักมากกว่าของอเมริกา ซึ่งเนื้อผ้าของชุดสูทผู้ชายถูกทอเป็นพิเศษ


     เคาท์อันเดรนวี่ (Count Rudolph Andrenyi) ตัวละครสวมใส่เครื่องแต่งกายตามรูปแบบของชนชั้นสูงในสังคม เครื่องแต่งกายให้มีความเป็นทางการด้วยโทนสีดำและเชิ๊ตสีขาว


     มาร์เกซ (Biniamino Marquez) พนักงานขายรถที่มั่นใจในตนเองและมีความมั่นใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ มาร์เกซมีเชื้อสายคิวบา สร้างเครื่องแต่งกายแตกต่างจากตัวละครอื่น ด้วยการผูกโบว์แทนการใช้ไทด์และสวมใส่เสื้อกั๊กโบราณ (an authentic vintage vest)


     เอ็ดเวิร์ด มาสเทอร์มัน (Edward Henry Masterman) เครื่องแบบพ่อบ้านด้วยชุดสูทขาวดำตามความนิยม แสดงภาพถึงความสุภาพ



     ปิแอร์ มิเชลล์ (Pierre Michel :The Conductor) พนักงานตรวจตั๋วรถไฟของ “Orient Express” ทั้งโทนสีและรูปแบบของเครื่องแต่งกายมาจากรูปแบบเครื่องแต่งกายของพนักงานเดินรถ เสริมด้วยสัญลักษณ์และตรากระดุมของรถไฟทางด่วน



แหล่งอ้างอิงหรือที่มา

https://fashionista.com/2017/11/murder-on-the-orient-express-2017-movie-costumes
https://www.vanityfair.com/hollywood/2017/11/murder-on-the-orient-express-costumes-kenneth-branagh
http://www.instyle.com/reviews-coverage/movies/murder-orient-express-costumes
http://www.bbc.com/news/av/entertainment-arts-41837697/orient-express-making-clothes-for-murder-movie-s-stars
http://www.sparknotes.com/lit/orientexpress/characters.html

ความคิดเห็น

  1. MGM National Harbor's Casino Resort completes $100M
    ATLANTIC CITY 김천 출장안마 (CBSNewYork) 구리 출장샵 — MGM National Harbor's Casino Resort has 목포 출장안마 completed $100 million in renovations and 과천 출장마사지 amenities Aug 영주 출장마사지 17, 2020

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความเป็นมาของการตัดต่อ

การสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหว (Panning)